.jpg)
ขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ส่งผลอย่างไรบ้าง?
10/07/2023 16:09 น.
สิ่งที่คนขับรถทุกคนทราบเป็นอย่างดี คือรถยนต์ทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ เนื่องจากเป็นข้อบังคับตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดย พ.ร.บ. รถยนต์ ถือว่าเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งจะมีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น ดังนั้นเจ้าของรถยนต์ทุกคันจึงต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เป็นประจำทุกปี ข้อดีของการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ นั้นจะช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่กฎหมายกำหนด แต่หากปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาดต่อ จะส่งผลเสียต่อรถยนต์อย่างไรบ้าง วันนี้คานะ รวมมาไว้ให้แล้ว
1.หากเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
เป็นที่ทราบกันดีว่า พ.ร.บ. รถยนต์ มีหน้าที่ในการคุ้มครองรถยนต์ คนขับ และบุคคลภายนอก จากอุบัติเหตุ หากรถขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะส่งผลเสียโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ดังนี้
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่มีคู่กรณี
หากขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เจ้าของรถจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี แม้ว่าเจ้าของรถจะได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตก็ตาม เช่น ขับรถชนต้นไม้ หรือขับรถชนกำแพง เป็นต้น
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุมีคู่กรณี
หากรถขาดต่อ พ.ร.บ. เกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
- เจ้าของรถเป็นฝ่ายถูก
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี เจ้าของรถจะได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้เสียหาย
- เจ้าของรถเป็นฝ่ายผิด
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี เช่น ขับรถชนบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ทางคู่กรณีจะสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งทางกองทุนฯ จะทำการจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยก่อน จากนั้นจะทำการไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยจะคิดเงินเพิ่มเติมอีก 20% รวมกับค่าปรับที่ไม่ทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และค่าปรับที่นำรถไม่มี พ.ร.บ. มาใช้งานไม่เกิน 10,000 บาท
2.ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้
หากรถยนต์ขาดต่อ พ.ร.บ. จะส่งผลให้ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ตามไปด้วย ซึ่งการขาดต่อภาษีรถยนต์จะส่งผลเสียหลายด้าน โดยรถที่ขาดต่อภาษีเจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับ 1% ทุกเดือนนับตั้งแต่วันที่หมดอายุ ซึ่งจะถูกปรับไปเรื่อย ๆ จนกว่าเจ้าของรถจะทำการต่ออายุภาษี
ในกรณีที่เจ้าของรถขาดต่ออายุภาษีเป็นเวลาติดต่อกันมากกว่า 3 ปี จะส่งผลให้ป้ายทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ ส่งผลให้เจ้าของรถยนต์ต้องเสียเวลาในการทำเรื่องขอป้ายทะเบียนรถใหม่
3.โดนจ่ายค่าปรับ
นอกจากผลเสียจากการไม่ได้รับความคุ้มครองจากอุบัติเหตุแล้ว อีกหนึ่งผลเสียของการขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ คือหากเจ้าของรถยังฝืนใช้รถยนต์ที่ขาดต่อ พ.ร.บ. เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจ จะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 10,000 บาท หรือหากติดในจุดที่ไม่ชัดเจนจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
สรุป
ในปัจจุบันสามารถเลือกต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ หรือ ต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. ก็ได้ เพราะการที่รถขาดต่อ พ.ร.บ. ส่งผลมากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นการที่เจ้าของรถไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ รวมถึงยังนำมาสู่การเสียค่าใช้ที่มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ในแต่ละปีจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของรถควรให้ความใส่ใจ คานะขอแนะนำทำ พ.ร.บ. ออนไลน์ กับกรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ สมัครง่าย รวดเร็ว ครบ จบ ทุกความต้องการในที่เดียว