ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ vs ต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. ต่างกันยังไง?

24/03/2023 16:01 น.

ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/man-driving-car-from-rear-view_1120663.htm#query=driving&position=0&from_view=search&track=sph#position=0&query=driving

เมื่อ พ.ร.บ. หมดอายุสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ หรือต่อที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ต.ร.อ.) ซึ่งหลายคนอาจกำลังสงสัยว่าการซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ด้วยตนเอง หรือซื้อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. แบบไหนดีกว่ากัน? ต่อแบบไหนได้รับความคุ้มครอง ต่อเนื่องมากกว่ากัน? วันนี้คานะได้รวบรวมข้อมูลมาไขข้อข้องใจให้แล้วค่ะ

การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์

การซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ นั้นง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปต่อคิวเข้าแถว อยู่บ้านก็ทำได้ สามารถกรอกข้อมูลออนไลน์ และทำการซื้อผ่านเว็บไซต์ของบริษัทประกันได้เลย สามารถทำทุกอย่างเสร็จครบ จบ บนเว็บไซต์ได้เลย พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านอีเมลได้ทันที และจัดส่งไปรษณีย์ถึงหน้าบ้าน ซึ่งใช้เวลาในการกรอกข้อมูลไม่เกิน 5 นาที อีกทั้งสามารถต่อ พ.ร.บ. และกำหนดวันคุ้มครองล่วงหน้าก่อนได้ถึง 90 วัน หรือ 3 เดือนก่อนหมดอายุ หลังจากที่ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์เรียบร้อยแล้ว สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบกต่อได้เลยที่ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf

นอกจากนี้การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์พร้อมกับประกันภาคสมัครใจ ยังช่วยลดความยุ่งยากหลายขั้นตอน อีกทั้งยังช่วยลดความยุ่งยากในการจำวันหมดอายุของแต่ละกรมธรรม์อีกด้วย

การต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ.

การต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก เหมาะสำหรับรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปีขึ้นไป โดยการตรวจสภาพรถที่ ต.ร.อ. สามารถตรวจล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันหมดอายุภาษีประจำปี โดยใช้รถยนต์เพื่อตรวจสภาพ และเอกสารเล่มทะเบียนรถ หรือใช้สำเนาทะเบียนรถแทนก็ได้เช่นกัน
 

ข้อดี-ข้อเสีย ของการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ และ ต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. 

  • การต่อ  พ.ร.บ. ออนไลน์ สะดวกกว่าเพราะสามารถดำเนินการตั้งแต่ต้นจนจบได้พร้อมชำระเงินผ่านทางออนไลน์ในที่เดียว ส่วนการต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. ต้องเสียเวลาเดินทาง และรอคิวเพื่อดำเนินการ
  • การต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. เหมาะกับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี แต่การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถทำได้ทั้งรถเก่า และใหม่
  • การต่อ  พ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • การต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. สามารถสอบถามกับพนักงานได้โดยตรง

รถอายุกี่ปีถึงต้องเริ่มตรวจสภาพกับ ต.ร.อ. ก่อนต่อภาษีรถยนต์

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  • ​รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

โดยนับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรกจนถึงวันที่สิ้นสุดอายุภาษีประจำปี หรือวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี

สรุป

หลายคนอาจคิดว่าการต่อ พ.ร.บ. ผ่าน ต.ร.อ. สามารถสอบถามข้อสงสัยกับพนักงานได้เลย แต่จริงๆ แล้วการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ นอกจากจะสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางแล้ว ยังสามารถกำหนดความคุ้มครองต่อเนื่องได้ หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกับคานะผ่านช่องทาง LINE OA กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ ได้เลย