EP08 ขับรถหลับใน เกิดอุบัติเหตุ ประกันจะรับผิดชอบหรือไม่?

27/01/2023 10:14 น.


 


เมื่อพูดถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่เราสามารถป้องกันได้ แต่ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่จะขาดจิตสำนึกต่อการเคารพกฎจราจร ซึ่งสาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากผู้ขับขี่รถยนต์ ขับรถยนต์โดยปราศจากความระมัดระวัง และมักจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน  

 

จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์      ก็มีหลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเมาแล้วขับ ขับรถด้วยความเร็วสูง รวมถึงหลับในในขณะขับขี่รถยนต์ ซึ่งสาเหตุจากการหลับใน หลายคนมักจะมองข้ามอาการง่วงนอนขณะขับรถ เพราะคิดว่าสามารถควบคุมอาการง่วงที่เกิดขึ้นได้ ซึ่ง “อาการหลับใน” แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ และในวันนี้ผมขอพูดถึงเรื่อง  “ขับรถหลับใน เกิดอุบัติเหตุ  ประกันจะรับผิดชอบหรือไม่?”

สาเหตุของภาวะหลับในมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหลับใน  จะมีอยู่ 4 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. ภาวะหลับใน มีสาเหตุจาก  การอดนอน 

การพักผ่อนไม่เพียงพออนอนน้อยหรือนอนไม่พอต่ำกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับใน       เพราะสมองส่วนธาลามัสอาจหยุดทำงานสั้น ๆ    ชั่วคราว ส่งผลให้เกิดความง่วงกระทันหัน (Sleep Attack) งีบหลับไม่รู้ตัว ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้จนเกิดภาวะหลับในได้

2. ภาวะหลับใน มีสาเหตุมากจาก การนอนไม่เป็นเวลา 
นอนดึกตื่นสาย ส่งผลเสียต่อร่างกาย คือ ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง รู้สึกอ่อนเพลียนอนไม่เต็มอิ่ม กระวนกระวาย เนื่องจากนอนไม่เป็นเวลา

3. เวลาเข้านอนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา 
ส่งผลให้สมองเกิดความเสื่อม เพราะปกติสมองคนเรา จะจำเวลานอนและเกิดความง่วงในเวลานั้น ถ้าเปลี่ยนเวลาเข้านอนบ่อย ๆ จะทำให้เวลานอนไม่ง่วง นอนน้อยลง หลับไม่เต็มอิ่ม จึงสาเหตุใหเกิดภาวะหลับในได้

4. กรรมพันธุ์ 
ส่งผลให้บางคนอยู่ในกลุ่มนอนยาว (Long Sleepers) มีความต้องการนอนนานถึง 10 ชั่วโมงจึงจะสดชื่น หรือบางคนอยู่ในกลุ่มนอนระยะสั้น (Short Sleepers) เพียง 4-5 ชั่วโมงก็ตื่นมาได้อย่างสดชื่น แต่พบได้ในจำนวนน้อยมาก ดังนั้นหากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนอน

การป้องกันภาวะหลับในไม่เพียงช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันได้หลายวิธีดังนี้

1. นอนให้เพียงพอ

อย่างน้อยควรพักผ่อนให้เพียงพอไม่น้อยกว่า  7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะถ้าต้องขับรถทางไกล ควรพักผ่อนให้เพียงพอติดต่อกัน 2-3 คืน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง


2. นอนเป็นเวลา 

ควรหาเวลาที่เหมาะสมในการนอน ซึ่งควรอยู่ใน ช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน เพื่อให้โกรธฮอร์โ(Growth Hormones) ที่ช่วย การเจริญเติบโตและส่งเสริมการทำงานระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหลั่งในช่วงตี 2 ถึงตี 4 ทำงานได้ดี เพราะฉะนั้นในช่วงใกล้ 3 ทุ่มควรฝึกตัวเองให้ผ่อนคลายและเตรียมพร้อมเข้าสู่การนอน


 3. นอนเวลาเดิมสม่ำเสมอ 

พยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน จะช่วยให้นอนหลับเต็มอิ่ม
 

4.งดดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน 
อย่างชา โกโก้ เป็นต้น ในช่วงหลัง 4 โมงเย็น เพราะจะทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่ลึก ส่งผลให้ตื่นมาไม่สดชื่น
 

5.อุณหภูมิห้องนอน ควรมีความเหมาะสมต่อการพักผ่อน
ควรอยู่ระหว่าง 25-26 องศาเซลเซียส ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ช่วยให้ไม่ตื่นกลางดึกหลับสนิทต่อเนื่อง

ดังนั้นเมื่อเราต้องขับขี่รถยนต์ เดินทางไกล  เพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการหลับใน ควรเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง  พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ต่อวัน

หากมีอาการง่วงนอนขณะขับขี่รถยนต์ ควรหยุดแวะพักผ่อนคลายอิริยาบถทุก ๆ 2 ชั่วโมง หรือเทียบเป็นระยะทาง 150 กิโลเมตร ควรหยุดพัก เพื่อช่วยลดความตึงเครียด ความง่วง และความเหนื่อยล้าจากการขับรถเดินทางไกลได้

ซึ่งจากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุขณะขับขี่ ในประเทศไทย พบว่า ช่วงเวลาที่พบการเกิดอุบัติเหตุจากภาวะง่วงนอนหลับใน จะพบบ่อยในสองช่วงเวลา คือช่วงเวลา  24.00 น. ถึง 8.00 น. ของวันรุ่งขึ้น และช่วงเวลา 13.00 น. ถึง 15.00  น..     

              โดยภาวะหลับในในขณะขับรถมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ขับขี่ ทุกคนที่อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอสะสมเป็นระยะนานๆ ทำให้นาฬิกาชีวิตภายในร่างกาย ตารางการทำงานและการดำเนินชีวิตไม่สัมพันธ์กัน  จึงทำเกิดอาการอ่อนเพลียในระหว่างขับรถ   ยิ่งต้องขับรถทางไกลเป็นเวลานาน     ก็ส่งผลทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ทำให้ผู้ขับขี่เกิดอาการหลับใน เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนน  นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต  ร่างกาย และทรัพย์สิน

            และเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เพราะการหลับในของผู้ขับขี่ ความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทประกันภัยจะรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่ จากสาเหตุภาวะการหลับในของผู้ขับขี่ ปัจจัยสำคัญของอุบัติเหตุก็จะมาจากความประมาทของผู้ขับขี่ ที่ไม่ใช้ความระมัดระวัง เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะการหลับใน เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมถึงความเสียหายรถยนต์คันเอาประกันภัย บริษัทประกันภัย ยังคงต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จากภาวะการหลับในของผู้ขับขี่ครับ

 

พบกับบทความที่มีประโยชน์และสาระความรู้เรื่องของประกันได้ในรายการ เคลมได้ป่ะ!? ที่ช่อง YouTube ของ กรุงศรี ออโต้ นะครับhttps://www.youtube.com/watch?v=mNFbeuGIb4s&list=PLoHwRneB14sgdtabcCV54FeBSmW0T-BHD