_Final_resize.jpg)
ไขข้อสงสัย รถยนต์ไฟฟ้า แต่ละประเภทต่างกันยังไงบ้าง ?
23/04/2025 16:49 น.
Cr.Freepik
ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า ได้เข้ามามีบทบาทต่อการใช้รถของผู้คนไม่น้อย ไม่ว่าจะด้วยการลดการปล่อยมลภาวะ และเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากมายที่มีในรถไฟฟ้าเท่านั้น ที่ทำให้คนเริ่มเลือกขับรถประเภทนี้มากขึ้น
แต่รู้หรือไม่ว่า รถยนต์ไฟฟ้า มีถึง 4 ประเภทด้วยกัน มีทั้งรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สันดาปและรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร ทำงานอย่างไรบ้าง วันนี้คานะจะพาไปหาคำตอบ
1. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด (HEV)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) เป็นรถยนต์ที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้า พร้อมใช้เทคโนโลยี Regenerative Braking ที่เป็นนวัตกรรมที่สามารถสร้างพลังงานจลน์จากการเหยียบเบรก ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อเก็บในแบตเตอรี่ และสามารถนำพลังงานดังกล่าวมาใช้งาน ทำให้มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป
ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า HEV คือผู้ขับไม่จำเป็นต้องใช้สถานีชาร์จในการชาร์จไฟระหว่างทางเหมือนรถไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ เพราะรถยนต์สามารถชาร์จพลังงานระหว่างขับขี่ได้ในตัว ซึ่งจะช่วยทั้งประหยัดน้ำมัน รวมทั้งยังสามารถลดการปล่อยมลภาวะได้อีกด้วย
2. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEV)
รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle,PHEV) เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนามาจากรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด ซึ่งจะต่างตรงที่รถยนต์ชนิดนี้สามารถเติมพลังงานได้จากภายนอก (Plug-In) และมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่ารถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด ช่วยให้รถสามารถวิ่งในโหมดไฟฟ้าล้วนได้ไกลมากขึ้น
จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด คือตัวรถใช้พลังงานไฟฟ้าแบบ 100% ได้ ทำให้ลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันได้มากกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 30 - 60% โดยผู้ใช้จะต้องชาร์จไฟเหมือนรถยนต์ไฟฟ้า จึงจะใช้งานได้
3. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV)
รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) หรือเรียกอีกชื่อว่า “รถไฮโดรเจน” เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำหน้าที่ด้วยการส่งไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนในอากาศ ส่งไปยังแผงเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อใช้สร้างกระแสไฟฟ้าเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ สำหรับเป็นพลังงานให้มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ในการขับเคลื่อนของรถยนต์
ข้อดีของรถไฮโดรเจนจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ใช้เวลาในการเติมเชื้อเพลิงที่รวดเร็ว สามารถเก็บพลังงานได้มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ถึง 250 เท่า แต่ต้นทุนการผลิตของรถยนต์ประเภทนี้ก็ค่อนข้างสูง รวมถึงไม่ค่อยมีสถานีเติมไฮโดรเจน ทำให้รถยนต์ประเภทนี้ไม่ได้รับความนิยมในไทยเท่าที่ควร
4. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ (BEV)
Cr.Freepik
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่หรือชื่อเต็ม (Battery Electric Vehicle: BEV) เป็นรถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% ปราศจากเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง โดยแบตเตอรี่จะรับไฟฟ้าจากการชาร์จไฟ จากนั้นแบตเตอรี่จะทำการส่งไฟสู่มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์
ด้วยความที่รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก ทำให้เป็นรถที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาจากตัวรถเลย โดยระยะเวลาในการชาร์จไฟแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ซึ่งพลังงานจากการชาร์จ 100% ของรถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถวิ่งได้ไกลประมาณ 400 กิโลเมตร ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่เหมาะกับการขับรถเดินทางไกลมากนัก
นอกจากนี้ในปัจจุบันราคารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มมีราคาที่ถูกลง เพื่อให้ทุกคนสามารถจับต้องได้ พร้อมทั้งมีการเพิ่มสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าตามปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เพื่อรองรับความสะดวกคนใช้รถประเภทนี้มากขึ้น
สรุป
จะเห็นได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 4 ประเภท มีการทำงานที่ต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นรถพลังงานไฟฟ้าประเภทไหน ต่างก็ช่วยลดมลภาวะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเชื้อเพลิงฟอสซิล อันเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน แต่นอกจากรักษ์โลกแล้ว อย่าลืมรักรถของคุณด้วยการให้ประกันช่วยดูแล
คานะขอแนะนำให้ทำประกันภัยรถกับกรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ คุ้มจุใจ ช่วยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ รวมถึงค่ารักษาพยาบาลให้คุณอุ่นใจ ประกันรถผ่อนจ่ายเงินสด 0% สูงสุด 10 งวด ซื้อง่าย ไม่ง้อบัตร
*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนด โปรโมชันสำหรับลูกค้าทั่วไปเท่านั้น