_Final.jpg)
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คืออะไร? ต่างจากประกันรถมอเตอร์ไซค์ชั้น 3+ อย่างไร?
16/06/2023 13:59 น.
ประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. คือ การประกันภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) หรือที่รู้จักกันว่า “พ.ร.บ.” โดยกำหนดให้รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับนี้ โดยกรมขนส่งทางบกกำหนดให้รถทุกคันจะต้องมี ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) ก่อนจึงจะสามารถต่อภาษีรถได้
พ.ร.บ. เป็นสิ่งที่คนมีรถทุกคนต้องมี ไม่ว่าจะเป็นรถใหญ่ หรือรถเล็ก รวมถึงรถจักรยานยนต์ ที่คนไทยนิยมใช้ในการขับขี่ก็จำเป็นต้องมี พ.ร.บ. เช่นกัน เพื่อเป็นสิ่งที่คุ้มครองคนขับ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก จากอุบัติเหตุ และเหตุไม่คาดฝัน แต่นอกจาก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์แล้ว ยังมีประกันรถมอเตอร์ไซค์ ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่า โดยเฉพาะประกันชั้น 3+ ที่มีเบี้ยราคาถูก และเป็นที่นิยม วันนี้คานะจะพาทุกคนมาไขคำตอบว่า พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ และประกันรถมอเตอร์ไซค์ ต่างกันอย่างไร และคุ้มครองอะไรบ้าง?
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คืออะไร?
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/red-motor-biking-road_6159532.htm
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ เป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก พ.ศ. 2535 ที่เจ้าของรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องทำทุกปี เนื่องจาก พ.ร.บ. เป็นหลักประกันให้กับผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ว่าจะได้รับการคุ้มครอง รวมถึงได้รับค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะทำหน้าที่ไม่ต่างจาก พ.ร.บ. รถยนต์ ที่จะแบ่งการคุ้มครองออกเป็น ค่าเสียหายเบื้องต้นที่พร้อมจ่ายค่ารักษาโดยไม่พิสูจน์ว่าใครถูกผิด และค่าสินไหมทดแทน ที่จะพิสูจน์จากกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูก หรือผิด โดยการชดเชยค่าเสียหายสามารถแบ่งได้ ดังนี้
1.ค่าเสียหายเบื้องต้น
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะทำหน้าที่คุ้มครอง และจ่ายค่าชดเชยเบื้องต้น โดยไม่รอพิสูจน์ฝ่ายถูกผิด ดังนี้
- กรณีได้รับบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง วงเงินสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/ราย
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ได้รับเงินชดเชยวงเงินสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาท/ราย
- กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตหลังได้รับการรักษา ได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท/ราย