ในผู้หญิงกับผู้ชายต่างกันอย่างไร อันตรายแค่ไหน?
24/03/2023 14:41 น.
HPV ภัยเงียบใกล้ตัวที่เข้าสู่ร่างกายเงียบๆ ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวอีกทีจากเชื้อ HPV ก็กลายเป็นมะเร็งไปเสียแล้ว หลายคนอาจคิดว่าสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้หญิงเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว HPV ในผู้ชาย ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน และมีสถิติว่าทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์เคยติดเชื้อ HPV อย่างน้อยหนึ่งสายพันธุ์ เนื่องจาก เชื้อ HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์เลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่ HPV ทุกสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง วันนี้คานะจึงได้รวบรวมข้อเท็จจริงที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อ HPV มาฝากกันค่ะ
เชื้อ HPV คืออะไร
เชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) สาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยในผู้หญิง หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ HPV ว่าเป็นเชื้อที่นำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เชื้อ HPV ทุกสายพันธุ์จะก่อให้เกิดเป็นมะเร็ง และความรุนแรงขอ HPV ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์แต่ละชนิด ซึ่งไวรัส HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่ไม่อันตราย ร่างกายสามารถกำจัดได้เอง แต่มีบางสายพันธุ์ที่สามารถแฝงอยู่ในร่างกายได้นานโดยไม่แสดงอาการ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
เชื้อ HPV แบ่งได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
1.สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง หรือสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่นๆ ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58
2.สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ หรือสายพันธุ์ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ก่อให้เกิดหูด ซึ่งถือว่าไม่ร้ายแรงเท่ากับสายพันธุ์ข้างต้นได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11
เชื้อ HPV ติดต่อทางไหน?
หลายคนคงสงสัยว่า ถ้ามีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่จะยังเสี่ยงติดเชื้อ HPV อีกหรือไม่
คำตอบคือ “มีความเสี่ยง” เพราะเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่ายทั้งผ่านการสัมผัส และการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยการใช้ปาก หรือ ออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) แม้ว่าจะใส่ถุงยางอนามัยก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ หากมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง หรือผิวหนังตำแหน่งเสี่ยงอื่นๆ เชื้อ HPV ที่สามารถแพร่เชื้อได้มีมากถึง 40 ชนิดด้วยกัน หลังจากที่ติดเชื้อ HPV มาแล้วมักจะไม่แสดงอาการ และยากที่จะตรวจเจออีกด้วย ซึ่งการตรวจหาเชื้อ HPV แล้วไม่พบเชื้อ ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า เราไม่มีเชื้อ HPV อีกทั้งสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว โดยเชื้อ HPV สามารถแฝงอยู่ในร่างกายเฉลี่ยเป็นเวลา 10-15 ปี และที่สำคัญคือ จะแสดงอาการเมื่อลุกลาม หรือกลายไปเป็นมะเร็งแล้วเท่านั้น
เชื้อ HPV ระหว่างผู้หญิง กับ ผู้ชาย ต่างกันอย่างไร?
ในกรณีที่ได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง บางสายพันธุ์ส่งผลต่อผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งทวารหนัก โรคมะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำคอมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า โดยข้อแตกต่างของการติดเชื้อ HPV ระหว่างผู้หญิง กับ ผู้ชายมีดังนี้
1. การติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย ไม่ลดลงตามช่วงอายุ
จากผลการวิจัยพบว่าการติดเชื้อ HPV ในผู้หญิง จะมีอัตราการติดเชื้อสูงสุดในช่วงวัยรุ่น และค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต่างกับ การติดเชื้อ HPV ในผู้ชาย ที่มีอัตราการติดเชื้อสูงตลอดในทุกช่วงอายุ
2. ภูมิคุ้มกันในผู้ชายต่ำกว่า และไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้
ผู้ชายจึงมีโอกาสติดซ้ำได้มากกว่าผู้หญิง ยิ่งติดเชื้อ HPV ตอนอายุมาก ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิด Persistent Infection หรือการติดเชื้อยืดเยื้อ และระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดออกไปได้
3. วิธีการตรวจหาเชื้อ HPV
ผู้ชายสามารถตรวจหาเชื้อ HPV ได้เพียง 1 แบบ คือ Anual Pap Test ที่สามารถตรวจได้เฉพาะกับผู้ที่มีอาการ และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ซึ่งผู้หญิงสามารถทำการตรวจได้ 2 แบบ คือ Pap Smear และ HPV DNA Testing ในปัจจุบันสามารถตรวจสอบ HPV ได้ด้วยตัวเอง ด้วยชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก i-check test หรือ HPV Self-collection Test
วิธีป้องกันเชื้อ HPVสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?
-
ฉีดวัคซีนป้องกัน
ในปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้สูงสุดถึง 9 สายพันธุ์ โดยการฉีดวัคซีนจำนวน 3 เข็ม และเว้นระยะเวลาการฉีดแบบ 0-2-6 เดือน
- เข็มที่ 1 : กำหนดวันที่ต้องการฉีดได้เอง
- เข็มที่ 2 : เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน
- เข็มที่ 3 : เว้นระยะห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
*เด็กอายุ 9-15 ปี สามารถฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน
ใครสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้บ้าง?
- วัคซีน HPV สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และ LGBTQ+
(อายุตั้งแต่ 9-45 ปี)
- สามารถฉีดได้ทั้งคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ -
การสวมใส่ถุงยางอนามัย
ถึงแม้ว่าการสวมถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้ 100% เพราะยังมีอีกหลายส่วนที่ถุงยางอนามัยไม่ครอบคลุม รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งบริเวณอื่นๆ ได้ -
หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
ถึงแม้ว่าการมีคู่นอนเพียงคนเดียว ก็มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ได้
แต่แน่นอนว่าการมีคู่นอนหลายคนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV มากกว่าคนที่มีคู่นอนคนเดียวกว่า 2 เท่า และหากมีคู่นอนมากกว่า 6 คนขึ้นไปอัตราเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV จะพุ่งสูงขึ้นไปกว่า 3 เท่า
วิธีรักษา HPV เมื่อได้รับเชื้อแล้ว
HPV ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายในทันที ทำได้เพียงรอให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายกำจัดเชื้อออกไปภายใน 1-2 ปี แต่ก็ยังมีผู้ติดเชื้อกว่า 10-20% ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้และถึงแม้ว่าจะฉีดวัคซีน HPV แล้ว ผู้หญิงยังควรตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ หากพบเชื้อจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ 100% รวมถึงเชื้อ HPV ที่ฝังอยู่ในร่างกายมาก่อนแล้ว
สรุป
คานะหวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อ HPV มากยิ่งขึ้น ด้วยรัก และห่วงใยจากคานะ และสำหรับใครที่มีความกังวลใจ หรือมีความเสี่ยง อยากมีประกันไว้ให้อุ่นใจ ไม่อยากกังวลเรื่องค่ารักษา คานะขอแนะนำ ประกันมะเร็งและโรคร้ายแรง ต่อเนื่องเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1,102 บาท*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยกำหนด
ข้อมูลอ้างอิง: