นั่งนาน ออฟฟิศซินโดรมถามหา แถมอายุสั้น

26/01/2022 15:40 น.

อันตรายจากการนั่งนานเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามักมองข้ามกันครับ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลายๆ คนเริ่มพบว่ามีปัญหานี้กันมากขึ้น อาจจะสะสมจากช่วงที่ทำงานที่บ้านซึ่งอิริยาบถในการนั่งไม่เหมาะสม เพราะอุปกรณ์การทำงานไม่พร้อม หรือการนั่งๆ นอนๆ ทำงานบนพื้นหรือบนเตียงตามที่สะดวก รวมทั้งมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติเพราะต้องประชุมบ่อยขึ้นหรือนานขึ้น เมื่อกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ เราต้องเผชิญกับชีวิตประจำวันที่เร่งรีบและการจราจรในเมืองที่ติดขัดเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ร่างกายจึงเริ่มส่งสัญญาณเตือน

ในบทความนี้ กรุงศรี ออโต้ โบรคเกอร์ จึงอยากชวนคุณมาดูกันครับว่าโรคเหล่านี้มีอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร ใช่ที่คุณกำลังเป็นหรือเปล่า แล้วเราจะดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคที่เกิดจากการนั่งนานๆ ได้อย่างไร หรือหากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังจะมีความเสี่ยงอย่างไรตามมา และการหาตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจแบบกันไว้ดีกว่าแก้ ไปติดตามกันเลยครับ

นั่งนานแล้วป่วยง่ายตายเร็วจริงหรือ
การนั่งติดต่อกันเป็นเวลายาวนานถึง 7-10 ชั่วโมง มีผลต่อเซลล์โครโมโซมที่มีหน้าที่กำหนดอายุขัย ทำให้ร่างกายของผู้ที่นั่งนานต่อเนื่องเกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าคนทั่วไปครับ ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่าผู้ที่นั่งนานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่ได้ขยับตัวมากพอ เสี่ยงที่จะมีอัตราการเสียชีวิตใกล้เคียงกับผู้ที่สูบบุหรี่จัด เพราะมีหลายโรคที่การนั่งนานเพิ่มความเสี่ยงให้ร่างกายเรา ทั้งเบาหวาน มะเร็ง ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ สมองเสื่อม โรคหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มโรค NCDs หรือกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมนั่นเองครับ

โรคยอดฮิด “ออฟฟิศซินโดรม” มีอะไรบ้าง
นั่งนานแล้วอายุขัยสั้นอาจฟังดูเหมือนเรื่องไกลตัวเพราะดูจะใช้เวลาหลายปีในการพิสูจน์ แต่ถ้ากล่าวว่า นั่งนานแล้วนำไปสู่อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คงจะใกล้ตัวขึ้นแล้วใช่ไหมครับ ประเทศไทยพบผู้มีอาการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60 และมักพบในช่วงอายุวัยทำงานคือ 26-44 ปี โดยกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเกิดได้ในหลายระบบของร่างกาย
- ระบบการมองเห็น เช่น ตาแห้ง ตาพร่า
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ติดเชื้อทางเดินหายใจ
- ระบบกล้ามเนื้อ เช่น ปวดเมื่อยล้า คอ บ่า ไหล่ หลังส่วนล่าง ข้อมือและแขน
- ระบบประสาท เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เพลียเรื้อรัง ปวดศีรษะจากความเครียด
- ระบบกระดูกและเอ็น เช่น  โรคกระดูกคอ เอว นิ้วล็อค ประสาทมือชา ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ หมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
- ระบบอื่นๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน โรคอ้วน โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ

โรคในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมนั้นมีหลายกลุ่มอาการตามที่กล่าวไปในข้างต้นครับ ในบทความนี้ขอเจาะจงโรคที่อาจพบได้มากในหมู่ชาวออฟฟิศ ที่ต้องใช้ชีวิตแบบนั่งนานๆ ทั้งในรถและที่ทำงานนะครับ

มึนงง เวียนหัว บ้านหมุน
การนั่งนานทำให้เลือดไหลเวียนไปยังสมองน้อยลง ทำให้เรารู้สึกมึนงงและเวียนศีรษะได้ครับ แต่อาการเวียนศีรษะแท้จริงแล้วมีสาเหตุได้หลายอย่าง ทั้งจากความผิดปกติในระบบไหลเวียนโลหิต โรคไมเกรน ความเครียด น้ำในหูไม่เท่ากันหรือเกิดจากโรคหินปูนในหูชั้นใน (BPPV) หากคุณสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นอาการมึนงง ปวดศีรษะ หรือปวดไมเกรนเรื้อรัง อย่ามองข้ามนะครับ เพราะอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นๆ หายๆ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งของการเกิดโรคกระดูกคอในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกันครับ ดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการวินิจฉัยโรค เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุดมากที่สุดครับ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบและการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เชื่อว่าหลายๆ คนต้องเคยเจอรถติดแบบไม่ขยับเขยื้อนแล้วไม่มีที่เข้าห้องน้ำ หรือประชุมติดพันจนลืมลุกไปเข้าห้องน้ำ ต้องอั้นปัสสาวะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ร่างกายไม่ได้ขับของเสียอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่าเราจะพบว่าโรคนี้พบมากในผู้หญิงด้วยเรื่องของสรีระ แต่จริงๆ แล้วเป็นโรคที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัยครับ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการเป็นอย่างไร ลองสังเกตดูครับว่าคุณปัสสาวะบ่อยๆ แต่เหมือนไม่ค่อยสุดหรือเปล่า รู้สึกแสบ ขัด ตอนใกล้จะปัสสาวะสุดไหม และสังเกตสีของปัสสาวะว่ามีสีขุ่นหรือมีเลือดปนหรือไม่ ยิ่งถ้ามีอาการไข้ หนาวสั่น รีบไปพบแพทย์ได้เลยครับ เพราะหากติดเชื้อแบคทีเรีย แล้วลุกลามขึ้นไปในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน อาจเสี่ยงการติดเชื้อในกระแสเลือด และหากปล่อยไว้เรื้อรัง ยังเสี่ยงเป็นโรคไต นิ่วและเนื้องอกในระบบกระเพาะปัสสาวะด้วยครับ



กระดูกทับเส้น
โรคกระดูกทับเส้น หรือชื่อเต็มว่า “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นอีกโรคในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมที่พบได้มากในผู้ที่มักนั่งหรือขับรถนานๆ หรือก้มหลังพร้อมยกของหนัก ก้มหลังแล้วบิดตัว หรือประสบอุบัติเหตุที่กระเทือนกระดูกสันหลัง อาการที่พบบ่อยของกระดูกทับเส้นคือ ขาชาเป็นวงกว้าง ขาอ่อนแรง เดินเซ เดินลำบาก หรือปวดหลัง ตึงหลัง ควรรีบเข้ารับการรักษาด้วยการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังโดยตรง บางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจ MRI เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนกล้ามเนื้อจะฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการ และนำไปสู่อาการอัมพาตได้หากปล่อยไว้เรื้อรัง

นิ้วล็อค
ชีวิตประจำวันเราวนเวียนอยู่กับหลายอุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงโลกดิจิทัล ทั้งขณะทำงาน พักผ่อนอยู่บ้าน และแม้แต่เวลารถติด ผลการสำรวจพบว่าคนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตสูงอันดับห้าของโลก หรือเกือบวันละ 5 ชั่วโมง (ที่มา: รายงาน We are Social/Hootsuite กุมภาพันธ์ 2020) จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลายๆ คนจะมีอาการโรคนิ้วล็อค ซึ่งผู้หญิงจะเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย และเป็นได้ทุกนิ้วที่เกิดอาการเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วอักเสบ โดยผู้เป็นนิ้วล็อคจะมีอาการกำมือและงอนิ้วได้ แต่เหยียดบางนิ้วไม่ออก โรคนี้แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ และอาจไปสู่ความพิการได้หากไม่รักษาให้หายขาด

เครียด
โรคเครียดเป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดง่ายโดยไม่รู้ตัว เพราะควบคุมปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการได้ยาก ถือเป็นอีกโรคที่คนทำงานและขับรถนานๆ มักเป็นกันโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แน่นท้อง มือเท้าเย็น ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ มีเสียงดังในหู อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ฯลฯ ทั้งยังส่งผลต่อจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน สำหรับผู้ที่เป็นหนัก อาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าและลุกลามไปถึงภาวะอยากฆ่าตัวตาย จึงสำคัญที่เราต้องหาวิธีจัดการความเครียด ด้วยการทำกิจกรรมที่คุณเพลิดเพลิน (แต่ดีกับสุขภาพ) ให้ร่างกายผ่อนคลาย และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากคุณรู้สึกว่าอาการเครียดส่งผลต่อพฤติกรรมในชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัว อาจต้องพบแพทย์เพื่อหาทางรับมืออย่างเหมาะสมครับ

พฤติกรรมแบบไหนที่สร้างโรคภัยให้เรา
การนั่งนานไม่ขยับเขยื้อนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคที่ใกล้ตัวเราอย่างออฟฟิศซินโดรม แต่อีกโรคที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ NCDs หรือกลุ่มโรคที่เกิดจากจากพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการไม่ค่อยขยับเขยื้อนร่างกาย การขี้เกียจออกกำลังกาย นอนดึก เครียด รับประทานอาหารหวาน เค็ม มันจัดตามใจปาก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ฯลฯ 

NCDs มีโรคอะไรบ้าง ร้ายแรงไหม 
คำตอบก็คือโรคในกลุ่มนี้ มีแต่ชื่อคุ้นๆ หูทั้งนั้นเลยครับ เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคทางระบบหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม ฯลฯ ที่น่ากลัวก็คือ กลุ่มโรคนี้คร่าชีวิตคนไทยถึง 300,000 คนต่อปี มากเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว และตัวเลขการเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ในคนไทยยังสูงถึง 73% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเสียอีก (ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก) ทั้งยังคาดว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปีด้วยนะครับ รู้แบบนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ตัวเรานี่แหละเป็นแหล่งก่อเกิดโรค ไม่ว่าจะงานยุ่งขนาดไหน ลุกขึ้นขยับร่างกายทุกชั่วโมง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงกันดีกว่าครับ

ดูแลตัวเองอย่างไรให้อายุยืนยาว ห่างไกลออฟฟิศซินโดรมและ NCDs

  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถทุกชั่วโมงด้วยการขยับตัว หมั่นลุก และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทั้งวันทำงานและระหว่างนั่งพักผ่อนในวันหยุด
  • พักสายตาด้วยการมองวิวที่ช่วยให้สบายตาสบายใจ เช่น วิวต้นไม้
  • ลดละพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนอนดึก เครียด การรับประทานอาหารตามใจปากที่อุดมไปด้วยน้ำตาล เกลือ หรือไขมันทรานส์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป และการสูบบุหรี่จัด
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
  • พบปะเพื่อนฝูงและเข้าสังคมบ้าง เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ และผ่อนคลายความเครียด

    รู้งี้… ลงทุนเพื่อสุขภาพไว้ก่อนดีกว่า
    โรคภัยในกลุ่มออฟฟิศซินโดรมไม่ใช่แค่เป็นผลเสียสุขภาพ แต่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเราด้วย จึงจำเป็นต้องหาตัวช่วยไว้สำรองความอุ่นใจ ด้วยประกันสุขภาพที่เน้นเรื่องโรคยอดฮิตของคนทำงาน เบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 175 บาท/เดือน และเลือกความคุ้มครองสูงสุดได้ถึง 300,000 บาท ซึ่งมีจุดเด่นคือครอบคลุมการรักษาโดยแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน และกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข แถมยังเลือกเพิ่มความคุ้มครองโรคยอดฮิต เช่น โรคหวัด มะเร็ง ฯลฯ ลองศึกษารายละเอียดกันดูนะครับ

สนใจประกันนี้

บทความอ้างอิง

https://www.rama.mahidol.ac.th
https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/67842/-blo-scihea-sci-
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/
https://www.phyathai.com
https://www.thaihealth.or.th
https://www.s-spinehospital.com
https://vibhavadi.com